โครงการอบรมหลักสูตร
AML Risk Based Approach Workshop รุ่น 2 : อบรมเชิงปฏิบัติการฐานความเสี่ยงด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและ
การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
New
วันที่ 27 – 29 พฤศจิกายน 2562 เวลา 09.00 – 16.00 น. รวม 3 วัน
ณ ห้องบอลรูม 38 ชั้น 38 โรงแรมพลูแมน กรุงเทพ จี (ถนนสีลม)
9.00am - 16.00pm
หลักการและเหตุผล
 พระราชบัญญัติป้องกันและปรายปรามการฟอกเงินได้กำหนดหน้าที่สำคัญของสถาบันการเงินไว้หลายประการ อาทิ หน้าที่ในการรายงานธุรกรรม การจัดให้ลูกค้าแสดงตน การตรวจสอบข้อเท็จจริงของลูกค้าและผู้ทำธุรกรรมครั้งคราว การเก็บรักษาข้อมูลลูกค้า โดยเฉพาะหน้าที่ตามกฎกระทรวงเรื่องการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า พ.ศ. 2556 และกฎกระทรวงการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ซึ่งการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า หมายถึง กระบวนการเฝ้าระวัง ตรวจสอบและตรวจทานความเคลื่อนไหวทางการเงินหรือการทำธุรกรรมของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ความเข้มข้นของกระบวนการดังกล่าว ต้องสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงของลูกค้าที่ได้รับการประเมินจากข้อมูลและปัจจัยต่าง ๆ อย่างเหมาะสม และผลลัพธ์ที่ได้จากการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า จะทำให้สถาบันการเงินทราบได้ว่า ลูกค้ามีการดำเนินความสัมพันธ์กับสถาบันการเงินที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ มีความเคลื่อนไหวทางการเงินผิดปกติหรือไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือสถานภาพทางเศรษฐกิจของลูกค้าหรือไม่ และสถาบันการเงินควรพิจารณาปรับปรุงระดับความเสี่ยงของลูกค้าหรือไม่ ท้ายที่สุด สถาบันการเงินยังมีความปลอดภัยจากการเป็นแหล่งฟอกเงินและสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ในการดำเนินความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับลูกค้าหรือไม่ มีสาระสำคัญประกอบด้วยเรื่องการระบุตัวตนและระบุผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง การประเมินความเสี่ยง การตรวจสอบความเคลื่อนไหวทางการเงิน การดำเนินความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการทำธุรกรรม ซึ่งนอกจากความเข้าใจในตัวกฎหมายแล้ว ผู้ปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้องจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องฝึกอบรมที่เน้นการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง
สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมความรู้ทางวิชาการ และการอบรม ได้ตระหนักถึงความจำเป็นดังกล่าว จึงกำหนดจัด AML Risk Based Approach Workshop โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการฐานความเสี่ยงด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย รุ่นที่ 2 กำหนดอบรมวันที่ 27 – 29 พฤศจิกายน 2562 เวลา 09.00 – 16.00 น. รวม 3 วัน ณ ห้องบอลรูม 38 ชั้น 38 โรงแรมพลูแมน กรุงเทพ จี (ถนนสีลม) เป็นหลักสูตรที่เน้นลงมือปฏิบัติจริงโดยทำ Workshop ด้านการประเมินความเสี่ยงสำหรับผลิตภัณฑ์ บริการและลูกค้า การประเมินความเสี่ยงภายในองค์กร และการตรวจสอบภายในองค์กรเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง โดยกลุ่มเป้าหมายผู้อบรม ได้แก่ บุคลากรของภาคสถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 ตามกฎหมายฟอกเงิน ผู้กำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้มีหน้าที่รายงาน ผู้ปฏิบัติงานด้าน AML/CFT ของผู้มีหน้าที่รายงาน
วัตถุประสงค์
- 1. เพื่อทบทวนความรู้ก่อนลงมือทำ Workshop ครอบคลุมถึงเนื้อหาเรื่องมาตรฐานสากลด้านการป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธ ทำลายล้างสูง และหน้าที่ตามกฎหมายฟอกเงินของผู้มีหน้าที่รายงาน
- 2.เพื่อสร้างความเข้าใจถึงความสำคัญและความจำเป็นในการประเมินความเสี่ยงด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธทำลายล้างสูงระดับองค์กรและ ระดับชาติ
- 3.เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ/กระบวนการในการประเมินความเสี่ยงด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธทำลายล้างสูง การกำหนดความเสี่ยงด้าน AML/CFT การกำหนดปัจจัยที่ใช้ประเมินความเสี่ยงด้านการฟอกเงินภายในองค์กร และแนวทางการกำหนด วิธีการบรรเทาความเสี่ยงด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายที่เป็นไปได้
- 4. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการประเมินการปฏิบัติตามกฎหมายป้องกันและปราบปราม การฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอำนาจทำลาย ล้างสูงระดับชาติ (FATF - APG) และแนวทางการกำกับตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย
- 5. เป็นหลักสูตรที่เน้นให้ผู้อบรมได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยจัดทำ Workshop ดังนี้
- 5.1 การประเมินความเสี่ยงด้านการฟอกเงิน สำหรับผลิตภัณฑ์ / บริการ และลูกค้า
- 5.2 การประเมินความเสี่ยงด้าน AML/CFT ภายในองค์กร
- 5.3 การตรวจสอบภายในองค์กรเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอำนาจ ทำลายล้างสูง
- 6. เพื่อเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแสดงความคิดเห็นระหว่างผู้อบรมกับวิทยากร
- 7. เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางวิชาการของสมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์