โครงการอบรมหลักสูตร หลักสูตร   Workshop : PDPA - RoPA: การจัดทำบันทึกกิจกรรมประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล รุ่น 2 New

โครงการอบรมหลักสูตร

หลักสูตร Workshop : PDPA - RoPA การจัดทำบันทึกกิจกรรมประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล รุ่น 2 New
  • วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566
  • ระยะเวลา: 1 วัน
  • สถานที่: ณ โรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์
  • เวลา: 9.00 am - 16.00 pm

เอกสารสำหรับดาวน์โหลด Thai

ดาวน์โหลดใบลงทะเบียน

ลงทะเบียนออนไลน์

  • View
  • #

หลักการและเหตุผล

         พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ตราขึ้นเพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและแนวโน้มเกิดการละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลและสิทธิความเป็นส่วนตัวมีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปแสวงหาประโยชน์หรือเปิดเผยโดยมิชอบหรือโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล เพื่อประโยชน์ในทางการค้า หรือเพื่อประโยชน์ในการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ในการกระทำความผิดต่าง ๆ เช่น การฉ้อโกง การหมิ่นประมาท เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตามนโยบายของรัฐบาล ดังนั้น ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อสร้างกลไกการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นมาตรฐานเดียวกันและสอดคล้องกับมาตรฐานที่เป็นสากล โดยต้องไม่สร้างภาระหน้าที่แก่ผู้เกี่ยวข้องจนกลายเป็นข้อจำกัดหรืออุปสรรคในการประกอบธุรกิจการค้าหรือการให้บริการของภาคส่วนต่าง ๆ จนเกินสมควร เพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ    ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวได้กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลหลายประการ อาทิ หน้าที่ในการเก็บ รวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้สอดคล้องกับฐานในการประมวลผล หน้าที่ในการแจ้งรายละเอียดตามที่กฎหมายกำหนดแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice) หน้าที่ในการจัดทำเอกสารกฎหมายที่กำหนดในกฎหมาย เช่น เอกสารความยินยอม แบบแจ้งเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคค หน้าที่ในการปฏิบัติตามคำขอของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและกระบวนการรองรับสิทธิของเจ้าของข้อมูล หน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และหน้าที่สำคัญประการหนึ่งคือ หน้าที่ในการจัดทำบันทึกกิจกรรมประมวลผล (Records of Processing Activity : ROPA) ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 39 และของผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 40 (3) ตามประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำและเก็บรักษาบันทึกรายการของกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2565 ซึ่งจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 20 ธันวาคม 2565   

สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมความรู้ทางวิชาการและการอบรม ได้ตระหนักถึงความจำเป็นดังกล่าว จึงกำหนดจัด หลักสูตร Workshop : PDPA – RoPA การจัดทำบันทึกกิจกรรมประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล รุ่น 2 ในวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ โรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์ โดยกลุ่มเป้าหมายผู้อบรม ได้แก่ บุคลากรของภาคเอกชน องค์กรธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจ ทนายความ ที่ปรึกษากฎหมายและผู้สนใจทั่วไป

วัตถุประสงค์

  1. 1)  เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและสาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 อาทิ นิยามสำคัญ การตีความ การบังคับใช้ ข้อยกเว้น ฐานการประมวลผล บทลงโทษ ตลอดจนผลกระทบต่อผู้ที่มีหน้าที่ตามกฎหมาย
  2. 2)  เพื่อให้ทราบถึงหน้าที่และความรับผิดของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย ตลอดจนความเสี่ยงต่อการละเมิดกฎหมายและข้อพึงระวัง
  3. 3)  เพื่อให้ทราบถึงหลักการคัดแยกและวิเคราะห์ข้อมูลในองค์กรและการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคล
  4. 4)  เพื่อให้ทราบถึงกระบวนการและหลักการจัดทำบันทึกกิจกรรรมประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Records of Processing Activity : RoPA) และลงมือปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและสอดคล้องกับหลักกฎหมาย
  5. 5)  เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางวิชาการของสมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วัน  เวลาและสถานที่อบรม

กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมอบรม

วุฒิบัตร

ค่าลงทะเบียน

การสำรองที่นั่ง

การชำระเงิน

สอบถามรายละเอียด

ติดตามข่าวสารอบรม

แผนที่ โรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์